miscellaneous, Thai Book Review แนะนำหนังสือ

จ้วนฉินไจ้ อุทยานเฉียนหลง พระราชวังต้องห้าม ตอนที่ ๓

       จากที่เกริ่นกล่าวไว้ ในตอนที่ ๑ และ ๒ เกี่ยวกับ การบูรณะ เรือนจ้วนฉินไจ้ ภายในพระราชวังต้องห้าม พื้นที่ อุทยานเฉียนหลงฮวาหยวน ไว้ว่า ผ้าไหม คือ วัสดุสำคัญอย่างยิ่งของเรือนหลังนี้ แน่นอนว่า การจะหาผ้าไหมเพื่อประดับตกแต่งเรือนส่วนพระองค์ให้ได้ใกล้เคียงกับของดั้งเดิมทั้งสี คุณภาพ ลวดลาย เช่นเดียวกับที่ถูกทอขึ้นนับ ๑๐๐ ปีก่อน เป็นเรื่องที่ยากเป็นอย่างมาก

จ้วนฉินไจ้ ผ้าไหม
Country: China
Site: Juanqinzhai
Caption: Post-restoration interior
Image Date: 2008
Photographer: Si Bing, Palace Museum
Provenance: Site Visit
Original: from digital CD CHN039

ทางทีมอนุรักษ์ต้องสำรวจเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์และความเป็นมา รวมถึงบันทึกต่างๆ เกี่ยวกับการสร้าง อุทยานเฉียนหลง และเรือนทั้ง ๒๗ หลัง เพื่อให้รู้ถึง แหล่งที่มาของวัสดุ และ ช่างฝีมือ และในที่สุดก็ได้ แหล่งผลิตที่น่าสนใจ มีตำนานและประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และบรรพบุรุษของผู้บริหารโรงงานทอผ้าแห่งนี้ยังเคยทำงานรับใช้ในราชสำนักมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงเรื่อยมา

จ้วนฉินไจ้ ผ้าไหม

ทีมงาน ได้ทำการสำรวจ และพบ โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ใน เมืองหนานจิง โรงงานทอผ้าแห่งนี้ ได้ดำเนินกิจการมาจากรุ่นสู่รุ่น นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ชิง จวบจนถึงปัจจุบัน เป็นกิจการที่สืบทอดต่อกันมาเป็นรุ่นที่ ๙ แล้ว โดยรุ่นล่าสุดมี คุณ Zhang Kaichen เป็นผู้บริหารโรงงาน ดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า ๔๘ ปี

Zhang Kaichen เล่าว่ากิจการของครอบครัวสืบทอดรุ่นต่อรุ่น มีความเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะยิ่งในช่วง สมัยราชวงศ์ชิง อุตสาหกรรมสิ่งทอเช่นการทอ ผ้าไหม เป็นที่นิยมอย่างยิ่ง ณ เมืองหนานจิง ในช่วงรัชสมัยของราชวงศ์ชิง จะได้ยินแต่เสียงกี่ทอผ้าตลอดเส้นทางที่เดิน ไม่มีบ้านไหนที่จะไม่ทอผ้าส่งราชสำนัก งานผลิตมีแทบตลอดทั้งวันทั้งคืน ผลงานทอผ้าที่นี่ ถือว่าเป็นเลิศทั้งคุณภาพและความประณีต เป็นที่ต้องการของราชสำนัก รวมไปถึงเหล่าบรรดาเสนาบดี ขุนนาง หรือคฤหบดี ผู้ร่ำรวยมั่งคั่ง

รองเท้าผ้าใบ ผู้หญิง กันกระแทก กันลื่น ทนต่อการสึกหรอ รองเท้ากีฬา รองเท้าวิ่ง

คุณ Zhang Kaichen ตกลงที่จะสืบสาน งานทอผ้าไหม เพื่อใช้ในการบูรณะครั้งนี้ แน่นอนว่า ทุกอย่างไม่มีต้นฉบับของจริงให้เห็น มีเพียงภาพถ่าย ซึ่งก็ถ่ายจากภาพ ผ้าไหมที่ผ่านกาลเวลาและชำรุดทรุดโทรมเช่นกัน และตัวอย่างผ้าโบราณ ๑ ชิ้นที่ทางพระราชวังต้องห้าม ได้เก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการเปรียบเทียบสี และลักษณะของเนื้อผ้า เพื่อทอให้ได้สีเหลืองทองตามที่ต้องการและตรงกับของเดิมเมื่อ ๒๓๐ กว่าปีก่อน

จ้วนฉินไจ้ อุทยานเฉียนหลง พระราชวังต้องห้าม

ในการทอผ้าไหมครั้งนี้ ทางคุณ Zhang Kaichen ตัดสินใจใช้กี่ทอแบบโบราณใน สมัยราชวงศ์ชิง และใช้เวลาในการทอลวดลายและขั้นตอนโบราณทั้งลองผิดลองถูกมากกว่า ๑๐๐ ครั้ง ถึงจะได้ทั้งคุณภาพ ผิวสัมผัส เนื้อผ้า สี แม้แต่ลวดลายก็ต้องมีมิติ และมีการสะท้อนของแสงผ่านเส้นสีของไหมเช่นเดียวกับของดั้งเดิมที่ถูกทอขึ้นกว่า ๑๐๐ ปีก่อน

กระบวนการ ทอผ้าไหม ด้วยกี่ทอผ้าโบราณ ต้องใช้ช่างทอถึง ๒ คน ในการทอ คนหนึ่งเลือกสี และอีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่คอยควบคุมลวดลายต่างๆ ให้เกิดขึ้น การทอผ้าแบบโบราณนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ ของช่างทอทั้ง ๒ คน เพราะหากผิดพลาดไปเพียงเล็กน้อย ความเสียหายอันใหญ่หลวงก็จะเกิดขึ้นกับผ้าทอทั้งผืนได้ ในที่สุดผลของการลองผิดลองถูกในการทอผ้ากว่า ๑๐๐ ครั้ง และใช้เวลาในการทอผ้าเพื่อให้ได้รูปแบบ คุณภาพ และความประณีตเหมือนชิ้นมาสเตอร์พีช ชิ้นเดียวที่ยังมีอยู่ มากกว่า ๒ ปี จึงจะสำเร็จได้ด้วยดี

ภายในเรือนจ้วนฉินไจ้ โครงสร้างหลักที่สำคัญอีกอย่าง คือ ไม้ / ไผ่ ที่เป็นทั้งฉากกั้นห้อง และการประดับตกแต่ง

    งานแกะสลักไม้ ด้วยลวดลายอันประณีตภายในเรือน จ้วนฉินไจ้ ภายในพระราชวังต้องห้าม เป็นอีกผลงานฝีมืออันประณีตอีกอย่างที่หาช่างฝีมือได้ยากมาก หรืออาจจะหาไม่ได้อีกแล้วในจีนปัจจุบัน

   โดยเฉพาะงานไม้ไผ่ ซึ่งเดิมทีในสมัยโบราณจะพบช่างฝีมือ และช่างไม้ที่เก่งกาจได้ในเมือง Dongyang มณฑลซีเจียง ทางทีมงานอนุรักษ์ใช้เวลาในการหาช่างฝีมือพอสมควร ทั้งลงประกาศในหนังสือพิมพ์เพื่อหาช่างฝีมือที่สามารถแกะสลักไม้ไผ่ และสานไผ่ขึ้นรูปได้ด้วย และในที่สุดก็มีโรงงานแห่งหนึ่ง ซึ่งก็ยังใช้กรรมวิธีในการแกะสลักไม้ไผ่แบบดั้งเดิม ติดต่อกลับมา

ครั้งแรกที่ คุณเหอฟูลี เจ้าของโรงงานแกะสลักไม้ และครอบครัว ได้เดินทางมายัง จ้วนฉินไจ้ ภายใน พระราชวังต้องห้าม เพื่อทำการบูรณะเรือน คนในครอบครัวต่างแปลกใจ รวมถึงยังมีความกังวลใจในการทำงาน เพราะงานไม้แกะสลักที่ปรากฎให้เห็นภายในเรือนจ้วนฉินไจ้นั้น งดงามอย่างที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน

การบูรณะครั้งนี้ จึงต้องค่อยๆ ทำ และพิถีพิถัน อย่างมาก เพราะเนื้องาน มีทั้งการซ่อมแซม และสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้ใกล้เคียงของเดิมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยนับร้อยชิ้น หรือชิ้นงานโครงสร้างขนาดใหญ่ก็ตาม ความพยายามบวกกับประสบการณ์การเรียนรู้ ทำให้ผลงานที่ออกมาประสบความสำเร็จ เป็นที่ถูกใจและถูกต้องตามคุณสมบัติชิ้นงาน

จากที่เกริ่นมาตั้งแต่ตอนที่ ๑ , ๒ และ ๓ ในตอนนี้ คือ การบูรณะชิ้นงานหลักจากวัสดุที่เป็นส่วนประกอบอันสำคัญของเรือน จ้วนฉินไจ้  แต่ภายในเรือนก็ยังคงมีเครื่องประดับตกแต่งอีกหลายชิ้น ไม่ว่าจะ โต๊ะ เก้าอี้ พรม ฉากกั้น ฯลฯ ทั้งหมดล้วนเป็นการผลิตขึ้นใหม่โดยใช้วัสดุคุณภาพดีเยี่ยม จากช่างฝีมือที่ดีที่สุดของแผ่นดินมังกร ซึ่งล้วนมาจากเมืองซูโจวและหนานจิง ศูนย์กลางแห่งการผลิต ผ้าไหมแพรพรรณอันงดงามยิ่งของแผ่นดิน

Country: China
Site: Juanqinzhai
Caption: Pre-restoration view of theater
Image Date: 2004
Photographer: Palace Museum
Provenance: Site Visit
Original: from print collection

ตั้งแต่ จุดเริ่มต้นของโครงการบูรณะเรือน จ้วนฉินไจ้ ณ อุทยานฮวาหยวนขององค์จักรพรรดิเฉียนหลง ในปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๒ จนกระทั่งในที่สุด ปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๘ เรือนจ้วนฉินไจ้ ก็เสร็จสมบูรณ์พร้อมกับการบูรณะในส่วนที่เหลืออื่นๆ ภายในอุทยานเฉียนหลงและสำเร็จเสร็จสิ้นไดัในปีคริสต์ศักราช ๒๐๑๘ ขณะนี้รอเพียงเวลาเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมอย่างเป็นทางการในปีคริสต์ศักราช ๒๐๒๐ ซึ่งเป็นปีที่พระราชวังต้องห้ามจะมีอายุ ๖๐๐ ปี

โครงการบูรณะ อุทยานเฉียนหลง เป็นอภิมหาโครงการใหญ่ที่สุดอีกโครงการหนึ่งของพิพิธภัณฑ์พระราชวัง และมูลนิธิอนุสรณ์สถานโลก World Monuments Fund โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรือนจ้วนฉินไจ้ ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าอย่างยิ่งของพระราชวังต้องห้าม และของโลก เงินที่ใช้ในการบูรณะมรดกโลกทางวัฒนธรรมเช่นนี้ไม่ว่าจะหลักร้อยล้านหรือพันล้าน ก็ไม่สามารถจะเทียบได้กับโบราณสถานอันยิ่งใหญ่ระดับโลกที่มีผู้คนจากทั่วโลกไปเยือนถึง ๗ ล้านคนต่อปี และสิ่งนี้จะยังคงอยู่ตลอดไปตราบนานเท่านาน แม้ว่า …

จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ นามว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ จะไม่เคยประทับอยู่ในเรือนจ้วนฉินไจ้ อุทยานเฉียนหลงฮวาหยวนแม้แต่คืนเดียวก็ตาม

สำหรับมูลนิธิอนุสรณ์สถานโลก World Monuments Fund  เป็นหน่วยงานที่มุ่งช่วยเหลือ สนับสนุนการอนุรักษ์โบราณสถานทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทย กัมพูชา จีน เอธิโอเปีย อิตาลี และโบราณสถานที่สำคัญยิ่งของโลกอีกมากมายกว่า ๖๐๐ แห่ง ทางมูลนิธิยังเปิดรับบริจาค เพื่อการระดมทุนในการดูแลและอนุรักษ์โบราณสถานสำคัญของโลก รวมถึงการเรียนรู้เพื่อต่อยอดการอนุรักษ์อีกด้วย

 

จ้วนฉินไจ้ อัญมณีเม็ดงามแห่ง พระราชวังต้องห้าม ตอนที่ ๑

ประชาสัมพันธ์
ชาหมักคอมบูชา kombucha
ชาหมักคอมบูชา kombucha

จ้วนฉินไจ้ อุทยานเฉียนหลง พระราชวังต้องห้าม ตอนที่ ๒

 

Reference:

World Monuments Fund :  https://www.wmf.org/

Photo Courtesy: World Monuments Fund

Click to access WMF_China-Qianlong_Brochure.pdf

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article