9Nomad, Bag Gallery & Fashion, miscellaneous, Thai Book Review แนะนำหนังสือ

หว่องซู วิศวกรจีนคนแรก ผู้บุกเบิกโบอิ้ง | Wong Tsu: Boeing’s First Engineer

    ทราบกันหรือไม่ครับ ว่า  วิศวกรคนแรกของบริษัทโบอิ้ง ( Boeing ) เป็นคนจีน ซึ่งความสำคัญของเขาก็ถึงขนาดว่า หากไม่มีเขาในวันนั้นแล้ว โบอิ้ง ก็อาจจะไม่ได้เป็นยักษ์ใหญ่ของวงการบินอย่างทุกวันนี้ …. เขาผู้นั้น ชื่อ … หว่อง ซู – Wong Tsu

วันนี้ ผมจะมาเล่าเรื่องของคุณหว่อง ซู (Wong Tzu) วิศวกรคนแรกของโบอิ้งให้ได้อ่านกันครับ ซึ่งครั้งแรกที่ผมได้ทราบเรื่องนี้ ผมก็ประหลาดใจมากเหมือนกัน

— บทความโดย :  กัปตันนัท-ธราพงษ์ รุ่งโรจน์
| facebook : นัทแนะ 

คุณหว่อง ซู (Wong Tzu) ผู้นี้เป็นคนจีนแต่ดั้งเดิม เลยครับ เขาเกิดเมื่อปีค.ศ.1893 มีบ้านเกิดอยู่ที่ กรุงปักกิ่ง เมื่ออายุได้ 12 ปี เขาก็เข้าเรียนที่โรงเรียน นายเรือ Yentai ประเทศจีน เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนนายเรือ ในปี ค.ศ.1909 ปุ๊บ …. คุณหว่อง ซู ในวัย 16 ปี พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่น ที่เรียนหนังสือเก่ง อีก 20 คน ก็ได้รับคัดเลือก ให้ได้รับทุนมาเรียนต่อที่ ประเทศอังกฤษ เพื่อศึกษาหาความรู้เรื่อง การต่อเรือ ซึ่งคุณหว่องแกก็เรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเดอร์รัม (Durham University)

Wong tsu boeing | "หว่อง ซู" วิศวกรจีนผู้บุกเบิกโบอิ้ง ( Boeing )
Wong Tsu 10 August 1893 – 4 March 1965)

cider vinegar แครนเบอร์รี่

ทีนี้  ในปีที่คุณหว่องเรียนจบที่ประเทศอังกฤษนั้น สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็อุบัติขึ้น ทางรัฐบาลจีน มองการณ์ไกลว่า ภัยจากสงครามนี้ จะต้องลุกลามไปจนถึงจีนในสักวันหนึ่ง ดังนั้น จีนจึงต้องเร่งเรียนรู้เทคโนโลยีจากตะวันตกนี้เพิ่มเติมไว้ …. ว่าแล้ว  ก็เลือกเอาคนเก่งๆ 5 คนจาก 20 คนที่เพิ่งจบปริญญาตรีจากอังกฤษมาหมาดๆ ให้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อหวังให้หัวกะทิเหล่านี้ ได้กลับมาพัฒนาชาติจีนต่อไป …
ซึ่ง คุณหว่อง ก็เป็น 1 ใน 5 คนที่ได้รับเลือก  และในปี 1913 คุณหว่อง ก็ได้เข้าเรียนปริญญาโทสาขาวิศวกรรมอากาศยานที่เอ็มไอที (MIT – Massachusette Institute of Technology) อันเป็นสถาบันวิศวกรรมอันดับหนึ่งของอเมริกา

ก่อนจะไปต่อ …   ผมต้องขออธิบายก่อนว่า ในปี 1913 ที่คุณหว่อง เข้าเรียนที่เอ็มไอทีนั้น สาขาวิชาวิศวกรรมอากาศยาน เพิ่งเริ่มก่อตั้งได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ยังเป็นภาควิชาใหม่เอี่ยมอ่อง … เพราะถ้าเราดูไทม์ไลน์ของประวัติศาสตร์แล้ว พี่น้องตระกูลไรท์ เพิ่งทดสอบเครื่องบินลำแรกของโลกได้สำเร็จที่เนินคิตตี้ฮอว์ค รัฐนอร์ธแคโรไลนา เมื่อเพียงแค่สิบปีก่อนหน้านี้นี่เอง คือ ปี 1903

แม้จะเริ่มมีนักประดิษฐ์ และวิศวกรหลายคน หันมาสร้างเครื่องบินกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย มากนัก …. เทคโนโลยีการบินยังใหม่ และยังอยู่ในยุคบุกเบิก

ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่คุณหว่องแกกำลังเรียนโทอยู่ที่เอ็มไอทีนั้น 

ก็ได้มี นักธุรกิจโรงเลื่อยไม้ ที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง เขาชื่อว่า “วิลเลียม โบอิ้ง – William Edward Boeing” เขาได้ไปคะยั้นคะยอขอให้เพื่อนคนหนึ่ง ที่เป็นนักบิน พาเขาขึ้นไปนั่งเครื่องบินเป็นครั้งแรกในชีวิต

เครื่องบิน ลำที่นายโบอิ้งแกขึ้นไปนั่งเป็นครั้งแรกนั้น คือ เครื่องบินซีเพลน ( Sea plane )  ( เป็นเครื่องบินที่วิ่งขึ้นและลงจอดในน้ำได้ครับ ( เครื่องบินทะเล หรือ เครื่องบินน้ำ (อังกฤษ: sea plane) เป็นอากาศยานปีกตรึงที่สามารถนำเครื่องขึ้นและลงบนผิวน้ำได้ :: Admin misc.today )

นายโบอิ้ง  ประทับใจกับเครื่องบินมากๆ และมองเห็นว่า เครื่องบินนั้น มีอนาคตสดใสแน่ๆ  แกก็เลยชวนกันกับเพื่อนวิศวกรทหารเรือคนหนึ่งชื่อ “จอร์จ เวสเทอร์เวลท์ – George Conrad Westervelt”  ทั้งสอง พยายามจะสร้างเครื่องบินขึ้นมาด้วยกัน แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะในช่วงที่จะทดสอบบินนั้น เครื่องบินของเขาก็มีทีท่าว่าลำตัวจะหักโค่นเสียก่อนได้ขึ้นบิน …

    โบอิ้ง ก็เลยขอให้ผู้หมวดเวสเทอร์เวลท์ช่วยหาวิศวกรอากาศยานที่ฝีมือดีๆให้สักคน  ผู้หมวดเวสเทอร์เวลท์ ก็เลยเขียนจดหมายติดต่อไปหาผู้ก่อตั้งวิชาวิศวกรรมอากาศยานของเอ็มไอที ว่า มีนักเรียนคนไหนที่มีฝีมือดีบ้าง ?

ซึ่งทางเอ็มไอที ก็แนะนำ คุณหว่องมาให้ ว่าเป็นคนหนุ่มที่มีความสามารถ ผู้หมวดเวสเทอร์เวลท์ ปรึกษากับนายโบอิ้งเรียบร้อย ก็ตกลงจ้างคุณหว่องเข้ามาทำงาน  ในฐานะวิศวกรคนแรกของบริษัทโบอิ้ง ! …ด้วยค่าจ้างสัปดาห์ละ 20 ดอลล่าร์

ซึ่งเป็นที่รู้กันในปัจจุบันว่า ต่อมาโบอิ้งคือหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของวงการเครื่องบินโลก

เมื่อคุณหว่อง เข้ามาทำงาน ก็ไม่ทำให้นายโบอิ้งผิดหวัง เพราะคุณหว่องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และประสบการณ์จากการทำวิทยานิพนธ์ที่เอ็มไอที มาพัฒนาเครื่องบินซีเพลน โดยการใช้อุโมงค์ลม และแก้ไขการออกแบบปีก

คุณหว่องทุ่มเท กับการพัฒนาเครื่องบินลำนี้จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการบินทดสอบในปี 1916 โดยเครื่องบินลำนี้มีชื่อว่า “โมเดล ซี” ( Model C )

นายโบอิ้งภาคภูมิใจกับเครื่องบินโมเดลซี ลำนี้มาก และได้จัดการทดสอบการบิน จากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา มายังเมืองซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา ได้อย่างงดงาม….

เครื่องบินโมเดลซี ที่ออกแบบและพัฒนาโดยคุณหว่อง ซู เป็นเครื่องบินลำแรกของโบอิ้งลำแรกที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ

กองทัพเรือสหรัฐ ให้ความสนใจกับเครื่องบิน ของโบอิ้งลำนี้มาก จนถึงกับสั่งซื้อเครื่องบินโมเดลซี จำนวน 50 ลำ ในมูลค่า 575,000 ดอลล่าร์ …  เงินก้อนนี้เป็นเงินรายได้ก้อนแรกของโบอิ้ง และนี่เองคือ จุดพลิกผัน ที่ทำให้ บริษัทโบอิ้ง กลับฟื้นขึ้นมายืนได้หลังจากล้มลุกคลุกคลานมาอยู่พักใหญ่ ..

หลังจากสร้างความสำเร็จให้กับโบอิ้งได้แล้ว  คุณหว่อง ก็เดินทางกลับแผ่นดินจีนบ้านเกิด ข้อมูลในช่วงกลับบ้านเกิดประเทศจีนของคุณหว่อง ครั้งนี้ ไม่ถูกเปิดเผยมากนัก …. แต่เท่าที่ทราบนั้น คุณหว่อง ซู ไม่พอใจนัก ที่ โบอิ้ง ไม่ยอมใส่ชื่อของคุณหว่อง ในฐานะวิศวกรเข้าไปในเอกสารประมูลงานของกองทัพเรือ เหตุด้วยกลัวว่าหากใส่ชื่อ วิศวกรจีนเข้าไปแล้ว อาจจะถูกปฏิเสธงาน …

เมื่อคุณหว่อง กลับถึงเมืองจีนแล้ว ก็ได้ไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ด้านวิศวกรรมอากาศยานให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบิดาของวงการบินจีน

ทางฝั่งโบอิ้งนั้น …
   หลังจากที่กาลเวลาผ่านไป ประวัติศาสตร์สำคัญหน้านี้ ของโบอิ้ง ก็ค่อยๆ ถูกลบเลือนหายไป จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็มิรู้ได้ เพราะแม้แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ของบริษัทโบอิ้ง ก็แทบจะไม่เอ่ยถึงชื่อของ คุณหว่อง ซู อีกเลย !!

จนกระทั่ง ในช่วงปี 1995
     นายคีย์ ดอน (Key Donn) ประธานสมาคมพนักงานโบอิ้งเชื้อสายเอเชียนอเมริกัน (Boeing Asian American Professional Association หรือ BAAPA) ได้ยินเรื่องราวของ คุณหว่อง ซู ในฐานะวิศวกรคนแรกของโบอิ้ง โดยบังเอิญ เขาจึงค่อยๆแกะรอย ค้นคว้าหาข้อมูล ไปเรื่อยๆ จนพบรายละเอียดทั้งหมด … 

ในระหว่างการหาข้อมูลนั้น … นาย Key Donn ได้รับสำเนาจดหมายโต้ตอบยุคแรกๆระหว่าง นายโบอิ้ง , ผู้หมวดเวสเทอร์เวลท์ และคุณหว่องซู   ซึ่งเอกสารนี้ ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี โดยครอบครัวตระกูลโบอิ้ง นาย Key Donn จึงนำเรื่องราวนี้ เสนอขึ้นสู่ ที่ประชุมผู้บริหารของโบอิ้ง เพื่อขอให้มีการยกย่องและให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์หน้านี้ …
 แต่ก็ถูกเพิกเฉยมาตลอด !!! ???

…………

ประชาสัมพันธ์

เครื่องดื่ม kombucha - n1

จนเวลาล่วงเลยมาถึงปี 2004
    เมื่อทางรัฐบาลจีน ตกลงที่จะสั่งซื้อเครื่องบินล้อตใหญ่มูลค่า 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากบริษัทโบอิ้ง ทำให้กลุ่มผู้บริหารโบอิ้ง หันมาสนใจข้อมูลนี้ ?!!  และจัดการสร้างแผ่นจารึกโลหะเป็นรูปคุณหว่องขึ้นมา …

แผ่นจารึกบรอนซ์ของคุณหว่อง ซู อยู่ที่พิพิธภัณฑ์การบิน (Museum of Flight) เมืองซีแอทเทิล

 

….. เมื่อผมอ่านเรื่องราวนี้แล้ว ก็รู้สึกขึ้นมาว่า

“คนอเมริกันคงไม่อยากจะยอมรับหรอกว่า วิศวกรคนแรกที่ออกแบบเครื่องบินลำแรกที่ทำให้โบอิ้งมีที่ยืน ในอุตสาหกรรมนี้เมื่อเกือบร้อยปีก่อน….เป็นคนจีนขนานแท้จากจีนแผ่นดินใหญ่” !!!

เอาจริงๆ …เรื่องนี้คนจีนเอาไปอวดได้ชั่วฟ้าดินสลายเลยนะ

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม 

  • https://en.wikipedia.org/wiki/Wong_Tsu
    Wong Tsu
     (also spelled Wong Tsoo, Chinese: 王助; pinyin: Wáng Zhù; 10 August 1893 – 4 March 1965) was a Chinese aeronautical engineer who was the first aeronautical engineer at Boeing.
The Museum of Flight 

YouTube player

 

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article