Bag Gallery & Fashion, miscellaneous, Uncategorized

ผ้าย้อมธรรมชาติ ความงามที่เกื้อกูลธรรมชาติ

ภายใต้เสื้อผ้าสวยๆ สีสันสดใส จากการฟอกย้อม แบบอุตสาหกรรม เราจะพบว่า เหล่านั้นอาจซ่อนไว้ด้วยการปะปนของสารเคมีและปนเปื้อนออกมากับน้ำเสีย ซึ่งหากแหล่งผลิตไม่ได้มีระบบการจัดการที่ดี น้ำเสียที่หลุดรอดออกจากโรงงานจะส่งผลกระทบกับแหล่งน้ำและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในท้ายที่สุด .. การหยิบจับเอา วัตถุดิบธรรมชาติ มาสกัดเป็นสีย้อมผ้า ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารจากธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งกระบวนการที่ปราศจากเคมีทุกขั้นตอน ทำให้เราได้ ผ้าย้อมธรรมชาติ ที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหมดจด

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อไรที่เห็น เสื้อผ้าชุดสวยๆ ที่ออกมาใหม่ด้วยสีสันและการตัดเย็บที่ถูกใจ ความอยากได้จะถูกกระตุ้นขึ้นมาทุกครั้ง แต่หากลองได้ฉุกคิดสักนิด ไตร่ตรองอีกสักหน่อย ถึงกระบวนการฟอกย้อมแบบอุตสาหกรรม เราจะพบว่าภายใต้ผ้าสวยๆ เหล่านั้นซ่อนไว้ด้วยการปะปนของสารเคมี และปนเปื้อนออกมากับน้ำเสีย ซึ่งหากแหล่งผลิตไม่ได้มีระบบการจัดการที่ดี น้ำเสียที่หลุดรอดออกจากโรงงานจะส่งผลกระทบกับแหล่งน้ำและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในท้ายที่สุด

เพราะตระหนักถึงข้อจริงในเรื่องนี้ ผู้ประกอบการ เสื้อผ้าและสิ่งทอ จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม จึงพากันสร้างสรรค์งานผ้าที่พึ่งพิงธรรมชาติ ด้วยการนำวัตถุดิบที่ให้สีที่มีความงามเฉพาะตัว มาย้อม เส้นใยธรรมชาติอย่างผ้าฝ้าย , ผ้าไหม , ลินิน ซึ่งคุณสมบัติของเส้นใยธรรมชาติเหล่านี้ก็ทำให้การย้อมติดของสีได้ผลดีกว่าใยสังเคราะห์ด้วย

Banana ไซเดอร์ วีนีก้าร์ - N1

วัตถุดิบธรรมชาติ มาสกัดเป็นสีย้อมผ้า
จะว่าไปแล้วการนำวัตถุดิบธรรมชาติมาสกัดเป็นสี เพื่อใช้ในการย้อมผ้านั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะการย้อมผ้าแบบนี้ เป็นวิถีการดำรงชีวิตที่เกี่ยวพันกับมนุษย์มาตั้งแต่อดีต เช่น สีของต้นห้อม หรือ สีครามของต้นคราม ที่ให้สีน้ำเงินอย่างที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ก็เป็นสีที่ใช้กันมาเนิ่นนานตั้งแต่คุณตาคุณยายยังเด็กหรืออาจจะนานยิ่งกว่านั้น หรือการย้อมสีดำหรือเทาด้วยผลมะเกลือแก่จัด

ประชาสัมพันธ์

cider vinegar แครนเบอร์รี่

   สีแดงจากครั่ง หรือแก่นฝาง สีเหลืองจากดอกดาวเรือง ขมิ้น สีเขียวขี้ม้าจากเปลือกต้นเพกา สีน้ำตาลจากเปลือกมังคุด สีชมพูจากกากมะม่วงหาวมะนาวโห่

ผ้าย้อมธรรมชาติ
ปัจจุบันนี้นอกจากสีที่เราคุ้นเคยอย่างที่ว่า เรายังได้เห็นการสร้างสรรค์สีใหม่ๆ จากวัตถุดิบอื่นๆ อีกมาก เช่น สีแดงจากครั่ง หรือแก่นฝาง สีเหลืองจากดอกดาวเรือง ขมิ้น สีเขียวขี้ม้าจากเปลือกต้นเพกา สีน้ำตาลจากเปลือกมังคุด สีชมพูจากกากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ที่เหลือจากการแปรรูปเป็นอาหาร กระทั่งสีเขียวขี้ม้าจากมูลควายสดที่การจะได้สีอ่อนหรือแก่ก็ขึ้นอยู่กับหญ้าที่ควายกิน

สีที่สวยแปลกตา และลวดลายที่เกิดขึ้น มีความต่างกันออกไปด้วยกระบวนการทำมือล้วนๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในการสกัดสีและการย้อม ที่ต้องอาศัยวัตถุดิบอื่นๆ มาช่วยเพื่อให้สีผ้าติดทนนาน ทนทานต่อแสงและการซักล้างมาเป็นสารช่วยย้อม ไม่ว่าจะเป็นเกลือแกง น้ำด่าง น้ำปูนใส กรดจากมะนาว ไปจนถึงโปรตีนจากน้ำนมถั่วเหลือง ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารจากธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งกระบวนการที่ปราศจากเคมีทุกขั้นตอน ทำให้เราได้ ผ้าย้อมธรรมชาติ ที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหมดจด

การหยิบจับเอา วัตถุดิบธรรมชาติ มาสกัดเป็นสีย้อมผ้าไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้ เราจึงมักได้เห็นสีใหม่ๆ จากวัตถุดิบใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอในกลุ่มผู้ประกอบการที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และมักสอดแทรกอยู่ในกิจกรรม การท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับงานฝีมือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งอิงแอบอยู่กับวิถีอินทรีย์ ที่นอกจากจะได้อุดหนุนแล้วบางแห่งยังอาจได้ทดลองย้อมเองกับมือ ได้ผ้าสวยๆ กลับบ้านจากการสร้างสรรค์ของตัวเองล้วนๆ

บทความ/ภาพ โดย : TOCA Platform

สังคมอินทรีย์

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์กับเรา TOCA
Website: www.tocaplatform.org



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article