เมื่อพูดถึง พดชมโร เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้จัก แต่หากพูดถึงอำเภอทุ่งสง บางท่านก็คงจะพอคุ้นหูอยู่บ้าง แต่ก็อาจจะนึกไม่ออกว่า อำเภอนี้อยู่ที่ไหน อำเภอทุ่งสง หรือที่เรียกกันติดปาก อีกชื่อหนึ่งว่า ชุมทางทุ่งสง
อำเภอทุ่งสง คือ ๑ ใน อำเภอที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดอีกอำเภอหนึ่งของ จังหวัดนครศรีธรรมราช อดีตอาณาจักรดามพรลิงค์ หัวเมืองทางปักษ์ใต้ที่มีระบุในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา เหตุที่เรียกว่า ชุมทางทุ่งสง นั้นเป็นเพราะอำเภอทุ่งสง เป็นเส้นทางรถไฟสายใต้ที่สำคัญอีกสาย ซึ่งมีบันทึกไว้เมื่อครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้คณะวิศวกรสร้างเส้นทางรถไฟ และในจุดทางแยกที่ไปตรังให้ระบุและปักหมุดไว้ว่า ชุมทางทุ่งสง ปัจจุบันอำเภอทุ่งสงแทบจะเรียกได้ว่าเป็น ศูนย์กลางการเดินทางรถไฟในภาคใต้ตอนกลาง ก่อนลงไปภาคใต้ตอนล่าง ทุกๆ การเดินรถไฟ จะต้องผ่านชุมทางทุ่งสงเพื่อเป็นจุดเปลี่ยน/ ผลัดเวรพนักงานการรถไฟ จุดพักระหว่างการเดินทาง จุดเชื่อมต่อที่สำคัญของการเดินทางโดยรถไฟ จุดเติมน้ำมันหัวรถจักร เติมน้ำประปา และสิ่งอำนวยความสะดวก สาธรณูปโภคต่างๆ นอกจากนี้ ที่สำคัญ ยังเป็น จุดขนถ่ายกระจายสินค้า และศูนย์กลางการบริการรถไฟที่สำคัญอีกหลายๆ อย่าง

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองเก่าแก่ อายุถึง ๑๒๑ ปี นี้ มีเรื่องราวความเป็นมามากมายตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปรากฎว่า ทางกรมศิลปากรได้มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณวัตถุ เช่น ลูกปัดหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด ถ้วยชามมากมาย และต่อเนื่องมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ชื่อเมืองเก่าแก่ของอำเภอทุ่งสง มีระบุอยู่ในจดหมายเหตุอยุธยาตอนปลาย ว่า “ที่พดชมโร–ทุ่งสง” ซึ่งพื้นที่เมืองโบราณดั้งเดิมตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตลาดใน บริเวณเทศบาลตำบลปากแพรกในปัจจุบันค่ะ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ และจัดตั้งเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นเป็น มณฑลเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้กำหนดชื่อใหม่ให้เป็นอำเภอทุ่งสงในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ เป็นต้นมา รูปแบบการบริหารการปกครองเป็นแบบท้องถิ่น มีตำแหน่งขุน ๔ ท่าน หลวง ๔ ท่าน และพระ อีก ๒ ท่าน ซึ่งเป็นยศสูง นับเป็นยศตำแหน่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครั้งต้นกรุงศรีอยุธยา เมื่ออำเภอทุ่งสงได้รับการกำหนดชื่อในปี พุทธศักราช ๒๔๔๐ จึงได้มีนายอำเภอคนแรก มีนามว่า หลวงพำนักนิคมคาม หรือ ท่านเที่ยง ณ นคร
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ชาวอำเภอทุ่งสงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โดยพระองค์โปรดเลือกให้เป็นสถานที่เสด็จแปรพระราชฐานเพื่อความปลอดภัย เนื่องในช่วงระยะเวลานั้น ปีพุทธศักราช ๒๔๕๗–๒๔๖๑ เป็นช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ แม้การสู้รบจะเกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรปมากกว่าทางเอเชีย แต่ทรงคำนึงถึงความปลอดภัยของราษฎร และทรงมีพระราชประสงค์ให้หัวเมืองทางปักษ์ใต้มีเสถียรภาพ และความมั่นคงในราชการแผ่นดินมากขึ้น ทุกครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จมาซ้อมรบเสือป่าที่จ.นครปฐม จ.เพชรบุรี หรือ จ.ราชบุรี พระองค์มักจะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์มาประทับ ณ มณฑลนครศรีธรรมราช ทุกครั้ง และโปรดเสด็จพระราชดำเนินประพาสภาคใต้ด้วยเรือพระที่นั่งไปยังจังหวัดต่างๆ ในละแวกใกล้เคียงอีกด้วยค่ะ ทรงเคยมีพระราชดำริอยากสร้างพระราชวังที่มณฑลนครศรีธรรมราช โดยโปรดเกล้าโป