Bag Gallery & Fashion, miscellaneous, Thai Book Review แนะนำหนังสือ

ใช้เงิน (ธนบัตร/เหรียญ) อย่างไร ให้ปลอดภัยจาก ไวรัส Covid-19

ช่วงนี้สถานการณ์โลกกำลังวุ่นวายไปกันหมด ด้วย ไวรัส Covid-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ( วันที่ 13 มีนาคม 2563 ) วันนี้ แอทมิน ขอนำคำแนะนำดีๆ จากธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการป้องกันเชื้อไวรัสโควิท ที่อาจจะแฝงตัวอยู่ในเหรียญหรือธนบัตร ที่เราๆท่านๆ หยิบใช้กันอยู่ทุกวันนี้

        อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่า เชื้อโรค ไวรัส Covid-19 สามารถแพร่เชื่อจากคนสู่คน และเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยมีการติดต่อผ่านทางละออกเสมหะ จากการไอ จาม น้ำมูก และน้ำลาย และแน่นอนครับ มือ ของเรานี่แหละ ที่จะเป็นตัวกลางในการเดินทางของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของเราได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้มีอาการป่วย ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้น้ำยาแอลกอฮอล์ 60% ล้างมือ และไม่นำมือมาสัมผัสบริเวณตา จมูก และปาก

หากแต่ในชีวิตประจำวัน เราแทบจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการหยิบจับ ธนบัตร และเหรียญ ได้เลย แล้วเราจะมีวิธีป้องกันอย่างไร

คำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทย-Bank of Thailand

กับ 5 วิธีป้องกัน COVID-19 หลังจับเหรียญและธนบัตร

  1. ล้างมือทุกครั้งหลังจับเหรียญและธนบัตร ด้วยแอลกอฮอล์ล้างมือ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
  2. นำธนบัตรไปผึ่งที่แดดจัดและอากาศถ่ายเท เพื่อฆ่าเชื้อโรค
  3. เช็ดธนบัตร ด้วยผ้าหมาดที่ชุบแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ซึ่งไม่ทำให้เนื้อกระกาษถูกทำลาย
  4. ไม่พับ หรือกรีดธนบัตร เนื่องจากรอยพับเหล่านี้เป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรก และอาจเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดี
  5. หากพบว่าธนบัตรมีสภาพเก่า หรือสกปรกมาก สามารถนำธนบัตรเหล่านี้ไปฝากธนคาร แล้วนำธนบัตรใหม่มาใช้

Persimmon ไซเดอร์ วีนีก้าร์ - n1

        * (ทางธนาคารจะจะส่งธนบัตรเก่าที่ชำรุดไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทำลาย และผลิตธนบัตรใหม่มาให้ประชาชนใช้งาน)

ประชาสัมพันธ์

เครื่องดื่ม kombucha - n1

        ทั้งนี้ ถ้าคุณคิดว่าธนบัตรที่คุณมี มีสภาพเก่าก็สามารถนำไปฝากหรือแลกธนบัตรใหม่กับธนาคารพาณิชย์ได้ แต่แม้ว่าจะเป็นธนบัตรใหม่ สะอาด แต่หากโดนมือที่มีเชื้อมาจากที่อื่น ธนบัตรนั้นก็มีเชื้อโรคติดอยู่ได้เช่นกัน ทางที่ดีที่สุด คือ ทุกคนควรป้องกันตัวเองด้วยการล้างมือให้สะอาดภายหลังการสัมผัสธนบัตรหรือสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ร่วมกัน หรือถ้ายังไม่มีโอกาสล้างมือก็อย่าเพิ่งนำมือไปสัมผัสใบหน้า เข้าปากหรือจมูกเพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

 

อาการ โควิด-19
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า

อาการของผู้ป่วย โควิด-19 ส่วนใหญ่ ได้แก่

  • มีไข้
  • มีอาการไอ
  • มีน้ำมูก
  • มีอาการเหนื่อยหอบ
  • บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ

ผู้ได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 จะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1-14 วัน โดยอาการเริ่มแรกส่วนใหญ่จะเริ่มจากมีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้

เมื่อมีอาการป่วย ควรทำอย่างไร

กรมควบคุมโรคแนะนำว่าผู้ที่มีอาการป่วยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ควรพักผ่อนอยู่ที่บ้าน งดเดินทาง หลีกเลี่ยงที่ชุมชน
  2. ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชู่ทุกครั้งที่ไอหรือจาม
  3. ทิ้งกระดาษทิชชู่ลงในถังขยะทุกครั้ง
  4. ทำความสะอาดเชื้อโรคบนสิ่งของ และผิวสัมผัสต่างๆ เป็นประจำ
  5. นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการป่วยหลังจากเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ ต้องไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง รวมถึงใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น

คุณสามารถหาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

เพิ่มเติมได้จาก กรมควบคุมโรค  

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

 

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article