Thai Book Review แนะนำหนังสือ, Uncategorized

พระครุฑพ่าห์ สื่อสัญลักษณ์ถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และตราแผ่นดิน

     ครุฑ พญานก แห่งวิมานฉิมพลีในป่าหิมพานต์ อาศัยอยู่ ณ สุบรรณพิภพ แถบเขาพระสุเมรุ เทพผู้มีรูปกายครึ่งมนุษย์ครึ่งนกอินทรี เป็นผู้สูงศักดิ์ทรงอิทธิฤทธิ์ เป็นพาหนะประจำพระองค์พระนารายณ์ (พระวิษณุ)

        ตามตำนานเรื่องเล่าขานในวรรณกรรมของชนชาติในเอเชีย ซึ่ง ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย ครุฑ เป็นโอรสของพระกัสยปะมุนี และนางวินตา พระกัสยปะมุนี นั้นเป็นฤาษีผู้มีฤทธิ์อำนาจมาก เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดสรรพสัตว์ ตั้งแต่เทวดา มนุษย์ แพทย์ ทานพ นาค ครุฑ และปีศาจ ฯลฯ ส่วนนางวินตา เป็นธิดา ของพระทักษประชาบดี ซึ่งมีธิดาถึง 50 องค์ โดยพระทักษประชาบดี ได้ยกธิดาจำนวน 13 องค์ให้เป็นมเหสีของพระกัสยปะมุนีในบรรดามเหสีเหล่านี้มี 2 องค์ที่มีความโดดเด่น คือ นางกัทรู และนางวินตา นางกัทรู ผู้เป็นพี่สาว ได้ขอพรจากพระสวามีให้มีลูกจำนวนมากจึงให้กำเนิดบุตรเป็น นาคนับพันตัว ส่วนนางวินตา ผู้เป็นน้องขอพรให้มีบุตรเพียง 2 คน แต่ขอให้ลูกมีอำนาจวาสนาสูงศักดิ์ จึงคลอดบุตรออกมาเป็นเทพ คือ อรุณ และ ครุท ซึ่งต่อมา อรุณ ได้ไปเป็นสารถีของพระสุริยะเทพ ส่วนครุฑ ได้เป็นพระราชพาหนะประจำพระองค์ของระนารายณ์ ครุฑ มีชายานามว่า อุนนติ หรือ วินายกา มีบุตรชื่อ สัมปาติ (สัมนาที) และชฎายุ

ครุฑ อ่านว่า คฺรุด

ครุฑ” บาลีเป็น “ครุฬ” (คะรุละ) รากศัพท์มาจาก

 

น้ำกระสายยา มหาพิกัด-ตรีผลา โฮมบรูว์ HomeBrew สูตรเข้มข้น
น้ำกระสายยา มหาพิกัด-ตรีผลา โฮมบรูว์ HomeBrew สูตรเข้มข้น


 

(1) คร (งู, นาค) + หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แปลง ร ที่ ()-ร เป็น รุ (คร > ครุ), แปลง หนฺ เป็น ฬ

: คร + หนฺ = ครหนฺ + = ครหนณ > ครหน > ครุหน > ครุฬ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เบียดเบียนพญานาค”

(2) ครุ (ของหนัก) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + อ ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ลา > ), แปลง ล ที่ ลา ธาตุ เป็น ฬ (ลา > ฬา)

: ครุ + ลา = ครุลา > ครุล + = ครุล > ครุฬ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ถือของหนักได้” (คือจับพญานาคบินไปได้)

ครุฬ” (ปุงลิงค์) หมายถึง ครุฑ (the garuda)

พจนานุกรมบาลีอังกฤษ แปล “ครุฬ” ว่า Name of a mythical bird, a harpy (ชื่อของนกในนิยาย, ครุฑ, นกหน้าเป็นมนุษย์)

บาลี “ครุฬ” สันสกฤตเป็น “ครูฑ”
สํสกฤตไทอังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ครูฑ : (คำนาม) ยานปักษินของพระวิษณุ, ครุฑราชปักษิน, พญาครุฑหรือครุฑทรงขององค์นารายณ์ (ช่างเขียน ๆ รูปไว้กลายๆ, กล่าวคือ, มนุษย์ก็มิใช่ปักษินก็มิเชิง, นับว่าเปนพญานก; เปนโอรสกัศยปและวินตา, และเปนอนุภราดาของอรุณ); the vehicle bird of Vishṇu or Nārāyaṇa [he is represented as a being something between a man and a bird, and considered sovereign of the feathered race; he is the son of Kaśyapa and Vinatā, and younger brother of Aruṇa].”

ในภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “ครุฑ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2554 บอกไว้ว่า –

ครุฑ : (คำนาม) พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. (.; . ครุฬ).”

ในทางศิลปกรรมไทยจัดว่าครุฑเป็นอมนุษย์จำพวกกึ่งเทพกึ่งสัตว์ ตามคติโบราณสืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ถือว่าครุฑเป็นใหญ่ที่สุดในบรรดานกทั้งหลาย มีรูปร่างลักษณะครึ่งนกครึ่งคน คือมีหัว ปีก เล็บ และปากเหมือนนกอินทรี ตัวและแขนเหมือนคน หน้าขาว ปีกแดง ตัวเป็นสีทอง หน้าตาท่าทางดุร้าย สวมมงกุฎยอดน้ำเต้า สวมสร้อยคอ พาหุรัด ทองกรและกำไล นุ่งผ้าชายเฟือยมีห้อยหน้า ไม่สวมเสื้อ

ครุฑอาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ส่วนพญาครุฑอาศัยอยู่บนวิมานสวยงาม ชื่อว่า “วิมานฉิมพลี”

        ครุฑเป็นนกที่บินได้เร็วไม่มีสัตว์อื่นเทียบ คือบินได้กวักละโยชน์ ที่อยู่อาศัยเป็นสถานที่ลี้ลับยากที่ใครจะไปได้ถึง มีฤทธานุภาพมาก ตามคติพราหมณ์ที่ตกมาถึงไทยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมาเกิดเพื่อปราบทุกข์เข็ญ ครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์จึงได้รับการยกย่องโดยนำมาทำเป็นภาพเขียน ปั้น หรือแกะสลัก ตามจินตนาการของช่าง ใช้ประดับตามวัด สถานที่สำคัญของทางราชการ สิ่งของเครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ สิ่งของของแผ่นดิน เช่น รถหลวง เรือหลวง หนังสือสำหรับของทางราชการ

      พระครุฑพ่าห์ หมายถึง ครุฑที่เป็นพาหนะ เป็นรูปครุฑกางปีก และใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ใช้กับดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น

      คำว่า “พ่าห์” ก็มาจาก “พาหะ” ซึ่งก็คือ “พาหนะ” นั่นเอง ตามหลักภาษาไทยคำนึงถึงความไพเราะในการอ่านออกเสียงด้วย คำว่า “พาหะ” ลงตัวด้วยคำตาย ฟังไม่ไพเราะ จึงเอาการันต์ไปใส่บน “ห” แต่เพื่อไม่ให้อ่านว่า “พา” จึงต้องเอาไม้เอกไปใส่ในพยัญชนะตัวหน้าด้วย เหมือนกับคำ “ดุลพ่าห์” ที่หมายถึงตาชั่งของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งที่จริงมาจาก “ดุลพาหะ” แต่อ่านแล้วฟังไม่ไพเราะเช่นกัน จึงใส่การันต์และไม้เอกโดยนัยเดียวกัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ใช้ตราอาร์มแผ่นดินเป็นตราแผ่นดิน และได้นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และใช้มาจนถึงปัจจุบัน

 

ตราแผ่นดิน

ตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2436 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453

การใช้ตราพระครุฑพ่าห์พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์นี้ใช้สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์หรือกำกับนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งลงนามแทนในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ก็ยังใช้เป็นตราประจำสถานที่ราชการต่างๆ ของรัฐบาลไทย ใช้พิมพ์เป็นตราบนหัวหนังสือและเอกสารต่างๆ ของทางราชการ และใช้เป็นตราสำหรับประทับในหนังสือราชการของกรมกองต่าง ๆ

 

ภาพตราครุฑแบบต่าง

อนึ่ง บริษัทห้างร้านใดที่จดทะเบียนโดยชอบตามกฎหมายที่ติดต่อค้าขายกับทางราชสำนัก ซึ่งปรากฏว่ามีฐานะทางการเงินดี เป็นที่เชื่อถือแก่มหาชน ไม่มีหนี้สินรุงรังนอกจากหนี้สินปกติจากการค้าขาย และจะต้องประกอบการค้าโดยสุจริต อาจได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประดับตราพระครุฑพ่าห์เป็นตราตั้งห้างไว้ที่ห้างร้านของตนได้ โดยพระมหากษัตริย์ทรงไว้ในสิทธิที่จะเรียกคืนตราดังกล่าวได้

 

ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย

แปลว่า

น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มีภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาคจำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.

แต่เดิมในสมัยโบราณ ธงชัยราชกระบี่ยุทธและธงชัยพระครุฑพ่าห์นี้จะเชิญไปใช้นำเสด็จพระราชดำเนินในกองทัพ เมื่อมีการสร้างธงชัยราชกระบี่ยุทธและธงชัยพระครุฑพ่าห์สำรับน้อยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ราชองครักษ์เชิญธงสำรับน้อยเหล่านี้นำเสด็จฯ หากเป็นการเสด็จฯ โดยกระบวนราบ ให้ทหารบกเชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ทหารเรือเชิญธงชัยพระครุฑพ่าห์ ถ้าเสด็จกระบวนรถม้า จึงให้ราชองครักษ์ทหารบกเชิญธงทั้งสองนาย โดยธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ข้างขวา ธงชัยพระครุฑพ่าห์อยู่ข้างซ้าย

ต่อมาในปี พ.. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จกรมพระ ได้ประทานพระกระแสว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธควรอยู่ข้างซ้าย ส่วนธงชัยพระครุฑพ่าห์ควรอยู่ข้างขวา โดยถือหลักประเพณีเดิมจากพระราชพิธีทวาทศมาศ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้เปลี่ยนเสียให้ถูกต้อง เป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้

การเชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ ในการเสด็จพระดำเนินตรวจพลสวนสนาม ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2547

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

ประชาสัมพันธ์

Persimmon ไซเดอร์ วีนีก้าร์ - n1

พระราชบัญญัติเครื่องหมายครุฑพ่าห์ พ.. ๒๕๓๔/๒๕๓๔.๑๑.๑๕

https://th.wikipedia.org/wiki/ตราแผ่นดินของไทย

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91

http://dhamma.serichon.us โดย : นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

http://www.manager.co.th โดย : โดย คำนูณ สิทธิสมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์

 

 



Cultures of Fermented 
by Scoby Doit
Previous ArticleNext Article